สมุนไพรตามกลุ่มโรค | กลุ่มบำรุงโลหิตแก้น้ำเหลืองเสีย

ที่มาและวัตถุประสงค์

สมุนไพรภายในสวน

- สมุนไพรตามกลุ่มโรค

- ตำรับพระโอสถพระนารายณ์

แผนผังสวน

ปลาไหลเผือก

(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia)

ชื่อวงศ์         SIMAROUBACEAE

ชื่อสามัญ     Ali's Umbrella

ชื่ออื่น       กรุงบาดาล คะนาง ชะนาง ตรึงบาดาล ตุงสอ แฮพันชั้น เพียก หยิกบ่อถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอน ไหลเผือก ตุวุเบ๊าะมิง ตูวุวอมิง

ส่วนที่ใช้         ราก เปลือก

สรรพคุณ           
          ราก-เปลือก รสขมจัด ใช้ ราก รสขม เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายพิษต่างๆ ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้พิษเสมหะ และโลหิต แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ตัดไข้ทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรคระยะบวม ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ความดันเลือดสูง อัมพาต ขับถ่ายน้ำเหลือง แก้ท้องผูก
ตัวอย่างตำรับยาแผนโบราณ 
1.ยาสามราก” (ประกอบด้วยรากพืช 3 ชนิดคือ รากโลดทะนง รากฮังฮ้อน และรากปลาไหลเผือก) ทำให้อาเจียน และถ่าย ใช้ล้างพิษยาเสพติด ใช้บำบัดผู้ที่ติดยาเสพติด และแก้อาการลงแดงจากยาเสพติด โดยยานี้จะทำให้อาเจียน และถอนพิษยา
2.ยาประสะเหมือดคน” แก้ไข้ แก้ร้อนใน นอกจากนั้นยังใช้รากมาผสมหญ้าแห้วหมู และรากผักติ้ว ต้มน้ำดื่มแก้ปัสสาวะขัด
3.ตำรับยาจันทน์ลีลา” ใช้รักษาไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู
4. ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ฝนน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ราก นำไปเข้ายาบำรุงกำลัง นำรากผสมกับรากโลดทะนงแดง และพญาไฟ ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้ ใช้เลิกเหล้า รากผสมรากย่านางแดง และพญายา ฝนน้ำกินขับพิษ รากผสมกับรากโลดทะนงแดงและพญาไฟ ฝนน้ำกิน ทำให้อาเจียน ใช้เลิกเหล้า
           ประเทศมาเลเซีย ใช้ ราก  ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงหลังคลอดบุตร ใช้ภายนอกเป็นยาพอกแก้ปวดหัว ปิดบาดแผลพุพอง และยังมีสรรพคุณหลายประการ เช่น มีคุณสมบัติต้านเชื้อไวรัส เชื้อไข้มาเรีย ลดอาการไข้ ต้านโรคของอาการภูมิแพ้ต่างๆ ต้านเซลล์มะเร็ง และความดันโลหิตสูง เป็นที่นิยมมากในมาเลเซีย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา
           ตำรายาไทยแก้ไข้ โดยใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (หนัก 8-15 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
องค์ประกอบทางเคมี
           มีสารออกฤทธิ์ที่มีรสขมกลุ่ม quassinoids ได้แก่  eurycomalactone, eurycomanol, eurycomanone มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาเลาเรียฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง

การศึกษาทางเภสัชวิทยา
           มีฤทธิ์ลดไข้ ต้านมาลาเรีย  มีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของหนูตัวผู้  ลดความวิตกกังวล เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง  ต้านการก่อเกิดเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด

ที่มา

หนังสือ ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย 1 หน้า 144

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=69 http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_8.htm

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=82

 

| จัดทำโดยกองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล |