ประวัติโรงพยาบาลอานันทมหิดล
              นับย้อนหลังจากวันนี้ไปประมาณ ๖๐ ปี ในขณะที่ประเทศไทยปกครองและบริหารประเทศ
        โดยรัฐบาลของฯพณฯ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา  การสาธารณสุขก็นับเป็นนโยบายอันดับแรก
        ของรัฐบาล  ซึ่งได้มีการเร่งรัดและส่งเสริมตลอดมา       โดยที่ตระหนักว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเป็น
        ความเดือดร้อนแสนสาหัสยิ่งของปวงชนชาวไทย  รัฐบาลจึงได้มีนโยบายที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้น
        ให้ครบทุกจังหวัด     รวมทั้งสถานีอนามัยพร้อมกับจัดหน่วยสงเคราะห์เคลื่อนที่ออกไปช่วยทำการ
        รักษาพยาบาลในท้องถ่ิ่นที่ห่างไกล
 
                  จังหวัดลพบุรียังเป็นจังหวัดเล็กๆ   ชุมชนยังไม่หนาแน่น  จะมีอยู่กันเป็นกลุ่มก้อน  ก็คงจะ
          เป็นแถวท่าขุนนางและตลาดล่าง ตามแนวถนนพระราม จากบริเวณท่าหินไปถึงท่าโพธิ์  ซึ่งในปีนั้น
         กระทรวงกลาโหมโดยมี  พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ( ยศขณะนั้น )  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
         กลาโหม  ได้มีดำริที่จะย้ายหน่วยทหารบางส่วนจากกรุงเทพมหานครมาตั้งที่จังหวัดลพบุรี ในพ.ศ.
         ๒๔๘๐ พร้อมกับเล็งเห็นว่า  เมื่อมีหน่วยทหารและครอบครัวมาตั้งรกรากมากขึ้นในจังหวัดลพบุรี   
         หากมีการเจ็บป่วยก็ย่อมเป็นปัญหาใหญ่ทางการรักษาพยาบาล           จึงได้คิดวางแนวทางที่จะตั้ง
         โรงพยาบาลไว้ในจังหวัดลพบุรีอีกแห่งหนึ่ง    เพื่อรองรับการแก้ปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วยของทหาร  
         ครอบครัว และประชาชน   พลเรือนในจังหวัดลพบุรี   รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง เพราะในระยะเวลา
         นั้นยังไม่มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด ทั้งสิงห์บุรี  เพชรบูรณ์  สระบุรี  และลพบุรีเลย      นับว่าเป็น
         ความคิดที่รอบคอบในการวางแผนระยะยาวในสมัยนั้น  แต่กระทรวงกลาโหมไม่มีเงินพอที่จะสร้าง
         โรงพยาบาล   จึงได้มีหนังสือกราบทูลไปยังคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ      ซึ่งก็ได้ตอบรับ
         เห็นชอบด้วย
 
                     ดังนั้นโรงพยาบาลอานันทมหิดลก็ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และแล้วเสร็จในปีต่อมา
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯมากระทำพิธีเปิดเป็น
        ปฐมฤกษ์  เมื่อวันศุกร์ที่ ๖ มกราคม ๒๔๘๑  ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันเปิดค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช         ดังมีหลักฐานอ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๕๕  หน้า  ๓๔๙๗  วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๘๓
 
 
ปี พ.ศ. ๒๔๘๑
                โรงพยาบาลอานันทมหิดล  ได้เปิดดำเนินการโดยสามารถให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยไม่เกิน ๒๐๐ เตียง
         ตัวอาคารของโรงพยาบาลไม่สามารถสร้างเสริมให้ครบตามแผนได้  เนื่องจากงบประมาณของกองทัพบก
         ส่วนใหญ่ต้องไปใช้ในการป้องกันประเทศในสงครามมหาเอเชียบูรพาจึงมีเพียงอาคารศัลยกรรมหนึ่งหลัง
         อายุรกรรมหนึ่งหลัง  สูตินรีเวชกรรมหนึ่งหลังเท่านั้น
 
ปี พ.ศ. ๒๔๘๒

                 พลตรีหลวงพิบูลสงคราม  ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการ
         ทหารบก(ในขณะนั้น )     ก็ได้มองเห็นว่าประเทศไทยยังขาดบุคลากรด้านการแพทย์อีกมากมายและ
         โรงพยาบาลศิริราชแห่งเดียวเป็นโรงเรียนแพทย์นับว่าไม่เพียงพอและไม่ทันต่อความต้องการในการ
         แก้ไขความทุกข์ยากของประชาชนในด้านความเจ็บป่วย     จึงได้วางแผนผลิตแพทย์ชั้นหนึ่งภายใต้
         โครงการร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย(ขณะนั้นกระทรวงสาธารณสุข
         ยังเป็นกรมขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย )   ให้กรมแพทย์ทหารบกจัดตั้ง  โรงเรียนเสนารักษ์เพื่อผลิต
         นายแพทย์ทหาร   ไว้ใช้ในการสงคราม เป็นการเตรียมพร้อมกำลังพลในด้านการแพทย์    และความ
         ประสงค์ในอันดับต่อมาก็คือ        การกระจายแพทย์แผนปัจจุบัีนชั้นหนึ่งออกไปสู่ชนบททั่วประเทศ
         โครงการผลิตแพทย์จากโรงพยาบาลอานันทมหิดลซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สอง    จัดเป็น
         โครงการ ๗ ปี     กำหนดรับนักเรียนแพทย์ ๔ รุ่น      รุ่นละ ๑๒๐ คน เมื่อสำเร็จตามโครงการ แล้ว
         จะได้แพทย์รวม ๔๐๐ คน   โรงเรียนแพทย์จากแนวคิดของ      พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ก็ได้เปิด
         รุ่นแรกเมื่อวันที่  ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๘๓ ภายใต้การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเกือบทุกอย่าง เช่น
         น้ำใช้  น้ำดื่ม  ไฟฟ้า  การคมนาคม   และความแห้งแล้งแสนสาหัส    แต่กระนั้นนาน ๆ  รัฐมนตรีว่า
         การกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก  พลตรีหลวงพิบูลสงครามและท่านผู้หญิง จะแวะ
         มาเยี่ยมถามทุกข์สุขด้วย     ยังความปลาบปลื้มให้บรรดาครู   อาจารย์     มีกำลังใจในการเผชิญกับ
         สภาพแวดล้อมที่ไม่สมบูรณ์ได้ต่อไป      แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผลผลิตไม่สามารถดำเนินการได้ตาม
         โครงการ เพราะการผลิตแพทย์ไม่เหมือนกับการผลิตบุคลากรอื่น ดังนั้นเมื่อจบโครงการจึงสามารถ
         ผลิตบุคลากรสำเร็จออกมาเป็นแพทย์ได้เพียง   ๑๖๗  คน


 
ปี  พ.ศ. ๒๔๘๖
                   เนื่องจากสงครามมหาเอเชียบูรพาได้ทวีความรุนแรงขึ้น   ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตร
           กับประเทศอังกฤษ    กองทัพไทยต้องส่งทหารเข้าร่วมในการรบด้วย   เช่น กองทัพพายัพ   ทำให้
           ทหารต้องเจ็บป่วยและบาดเจ็บมาก    โรงพยาบาลในเขตแนวหน้าและเขตหลังคือ  กองพยาบาล
           มณฑลที่ ๑ ( โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า )   ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้เพียงพอ       กรมเสนารักษ์ 
           กรมแพทย์ทหารบก   จึงได้ดำเนินการปรับปรุงโรงพยาบาลอานันทมหิดล      เพื่อให้มีขีดความ
           สามารถรับทหารป่วยเจ็บเพิ่มขึ้น  และจัดตั้งศูนย์พักฟื้นทหารป่วยเจ็บของกองทัพบก  ได้อาคาร
           ชั่วคราวขึ้น  ๔  หลัง  แต่ละหลังรับผู้ป่วยได้  ๒๐๐   เตียง  รวมอาคารเดิมแล้วสามารถรับผู้ป่วย
           ได้ถึง  ๑,๐๐๐  เตียง   นับว่าช่วยแบ่งเบาภารกิจด้านการรักษาพยาบาลให้แก่กองทัพบกได้เป็น
           อย่างมาก
 
ปี  พ.ศ. ๒๕๑๔   
                  เนื่องจากภารกิจที่โรงพยาบาลได้รับมอบหมาย  ให้เป็นแหล่งดำเนินการผลิตนายสิบเสนารักษ์
           โดยใช้หลักสูตร  ๑ ปี   เพื่อสนองตอบต่อนโยบายของประเทศ    ในการที่ประเทศไทยส่งกำลัง
           ทหารไปร่วมรบในประเทศที่สามเนื่องจากในขณะนั้นมีสงครามระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตย
            และค่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งจำเป็นต้องผลิตนายสิบเสนารักษ์เพื่อสนับสนุนการช่วยรบ     จึงได้ปรับ
            ปรุงโรงพยาบาลอานันทมหิดลเป็นโรงเรียนนายสิบเสนารักษ์อีกครั้งหนึ่ง       ภายใต้การร่วมมือ
            ของสหรัฐอเมริกา   ประจวบกับความขัดแย้งทางความคิดของทั้งสองฝ่า    จึงมีสงครามภายใน
            ประเทศเอง        โรงพยาบาลอานันทมหิดลถูกกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลเขตหลัง     ในการรับ
            ผู้ป่วยที่ส่งกลับจากโรงพยาบาลประจำถิ่นและหน่วยสนับสนุนทางการแพทย์ในเขตหน้าและใน
            พื้นที่การรบ    จากภารกิจซึ่งต้องสนับสนุนกองทัพบกตลอดมา        รวมทั้งการต้องดูแลทหาร
            ครอบครัว และพลเรือนที่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดลพบุรี   พันเอก ยง วัชระคุปต์
            ผู้อำนวยการ  ( ยศในขณะนั้น )  ได้เสนอแผนและ โครงการต่อกองทัพบกขออนุมัติสร้างอาคาร
            ใหม่ ๖ ชั้น   ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ    ครบสมบูรณ์ภายในอาคารเดียวกัน และได้รับ
            ความเห็นชอบสนับสนุนจาก   พลเอก สุรกิจ   มัยลาภ   ( เสนาธิการทหารบกขณะนั้น )  จัดสรร
            งบประมาณและ   กรุณามาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์     เมื่อ วันจันทร์ที่    ๒๖ กรกฏาคม
             ๒๕๑๔   เวลา   ๑๘.๓๐ น.   อาคาร ๖ ชั้น   ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๕ ปีเศษ  ใช้งบประมาณ
             ๕๐ กว่าล้านบาท    เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วนับว่าเป็นโรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลทั่วไป
              ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
 
ปี  พ.ศ. ๒๕๒๔
               
เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
           ที่ได้มีต้่อโรงพยาบาลอานันทมหิดล  ในปีพุทธศัดราช ๒๕๒๔ โรงพยาบาลอานันทมหิดล            
           ได้ขอพระราชทาน    พระบรมราชานุญาติ   จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์
           พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและนำมา ประดิษฐานไว้ด้านหน้า ตึก ๖ ชั้น
           เพื่อเป็นศิริมงคล มิ่งขวัญ เคารพสักการะให้กับข้าราชการ และประชาชนสืบไป
                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้
          สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์
          มาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗

 
ปี  พ.ศ. ๒๕๔๔
              
ในระยะเวลาที่ผ่านมา โรงพยาบาลอานันทมหิดลได้มีการพัฒนาและปรับปรุงในส่วนต่างๆ
          มาโดยตลอด   ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช   ๒๕๔๔    กองทัพบกได้อนุมัติให้ก่อสร้างตึกอุบัติเหตุ
          และผู้ป่วยอาการหนักขนาด  ๔  ชั้น   เพื่อใช้เป็นสถานที่รักษาพยาบาล ผู้ป่วยอาการหนัก ผู้ป่วยผ่าตัด
          และ ผู้ป่วยนอกแบบครบวงจรและยังเปิดให้บริการในด้านกุมารเวชกรรม  ศัลยกรรม และออร์โธปิดิส์
          เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา   พระราชทานนามว่า
          " อาคารกัลยาณิวัฒนา "   และเสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่  ๑๐  กรกฎาคม  พุทธศักราช  ๒๕๔๘
                   โรงพยาบาลอานันทมหิดล   ตั้งอยู่เลขที่   ๓๕   หมู่  ๖   ตำบลเขาสามยอด   อำเภอเมืองลพบุรี
          จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่รวม  ๑,๐๕๐  ไร่  เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมแพทย์ทหารบก  โดยมีวัตถุประสงค์
          เพื่อดำเนินการ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ,  งานเวชกรรมป้องกัน และงานส่งเสริมสุขภาพแก่  ทหาร
         ครอบครัว  ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป